Monday, December 17, 2007

นิสัย..ตามวันเกิด


วันอาทิตย์
คนเกิด วันอาทิตย์ เป็นคนชอบเสี่ยงกล้าได้กล้าเสีย เป็นคนมีความคิดโลดแล่น รวดเร็ว และใจร้อน เช่นเดียวกันกับในเรื่องของ ความรักเมื่อหลงรักใครแล้วจะตามตื้อให้สำเร็จจนได้เป็นคนรักสนุก ชอบคนที่ดูดีมีเสน่ห์ไม่เรียบง่ายหรือเชยจนเกินไปเป็นคนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความ สดใสน่ารัก และร่าเริงทำให้มี เสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามใครเห็นใครก็ชอบ ค่อนข้างดื้อรั้นและหัวเแข็ง ซึ่งบางครั้งทำให้ไม่ยอมอ่อนข้อต่อใคร
บางทีความรักต้องสิ้นสุดลงไป เพราะความมีทิฐิมานะเป็นคน ค่อนข้างเจ้าชู้ทีเดียว และมีความโรแมนติกในเรื่องความรักมาก ชอบที่จะอยู่คลอเคลียกับคนรักตลอดเวลา รักใครแล้วจะเป็นคนที่รักจริง หวังแต่งเลยนะ แต่ก่อนที่จะพบตัวจริง ก็ชอบที่จะเลือกพบคนใหม่ๆ เพราะมันทำให้เกิดความรู้สึกท้าทาย คนเกิดวันนี้จะมีดวงความรัก ค่อนข้างดีถ้าคนรักเข้าใจถึงความใจร้อนไปบ้างของคุณก็จะสามารถคบกันได้นาน


วันจันทร์

คนเกิดวันนี้เป็นคนเจ้าชู้หลบใน (ก็เจ้าชู้เงียบๆนั่นแหละ) ไม่แสดงออกเด่นชัดเหมือนคนวันอาทิตย์มักจะแอบโปรยเสน่ห์ให้ใครต่อใครหลงใหลอยู่เสมอเพราะความที่เป็นคนน่ารักสุภาพอ่อนโยนอีกทั้งยังฉลาดเฉลียวแถมยังเข้าอกเข้าใจผู้อื่นและมีมนุษย สัมพันธ์ดีอีกด้วย
ความจริงคนเกิดวันนี้ก็เป็นคนที่ค่อนข้างดื้อรั้นและเอาแต่ใจตัว เอง เหมือนกันแต่จะค่อย ๆ แสดงออกมา เมื่อคบกันแล้วต้องการให้คนมา เอาอกเอาใจ คนเกิดวันนี้รักความสะดวกสบาย โกรธง่าย หายเร็ว รักแท้ ของคนวันจันทร์มักจะเกิดกับคนที่แตกต่างในเรื่องของอายุหรือฐานะ ความเป็นอยู่มากทีเดียว ทำให้ต้องอดทนและฝ่าฟันเหมือนรักแท้ ในหนังสุดโรแมนติกประมาณ โรส แอนด์ แจ๊ค แห่งไททานิคนั่นเลย แต่ว่าคนวันจันทร์นี้มักจะสุขสมหวังเสมอในเรื่องความรักถ้าดูแลหัวใจ ตัวเองให้ดีไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปไหนก็จะมีคู่รักที่คบกันเนิ่นนาน จนเพื่อนๆ อิจฉาเสมอนั่นแหละ


วันอังคาร

เป็นคนที่มีดวงความรักค่อนข้างดีทีเดียว จะพบรักแท้ที่คบกัน อยู่กันไปอย่างหวานชื่นและสมหวัง อาจจะเป็นคนที่ดูเจ้าชู้ไปสักนิดแต่จริง ๆ แล้วเป็นแค่อยากสนุกชั่วครั้ง ชั่วคราว เท่านั้น ไม่ได้เป็นนิสัย ถ้าเจอะ เจอคนหน้าตาดีหรือบุคลิกถูกใจก็จะส่งสายตาไปก่อนอื่น แต่จะไม่ใช่ คนที่จะต้องเข้าไปขอทำความรู้จักในทันดีทันใดเป็นคนมีนิสัยใจร้อน วู่วามและตรงไปตรงมาแต่นั่นแหละคือเสน่ห์ที่เพศตรงข้ามหลงไหล คนเกิดวันนี้เมื่อตกหลุมรักใครแล้วจะติดตามคอยอยู่ใกล้อย่าง ตั้งใจ ไม่มีวันจีบทิ้งจีบขว้างอย่างแน่นอน เป็นคนที่แข็งนอก อ่อนใน ใจดี แต่ปากแข็งเมื่อทำผิดมักจะไม่ค่อยยอมง้อทั้งที่ในใจอยากจะง้อ ใจจะขาด ดวงความรักของคนวันอังคารจะมีปัญหาก็อยู่ที่เรื่อง ของอารมณ์เท่านั้นต้องควบคุมอารมณ์ให้อยู่หรือเลือกคู่ที่เป็นคนใจเย็น สุดสุดก็จะมีรักที่ยั่งยืนยากที่จะแตกร้าวได้


วันพุธ
คนเกิดวันพุธเป็นคนช่างคิดช่างตรึกตรองช่างเลือกรอบคอบ ในทุกเรื่องรวมทั้งในเรื่องของความรักคุณจะต้องมั่นใจเสียก่อน ที่จะตกลงปลงใจกับใครเป็นคนที่ต้องการความรักที่ลึกซึ้งมั่นคง ไม่ใช่ความรักเพื่อให้ตื่นเต้นเร้าใจเท่านั้นเสน่ห์ของคนวันนี้อยู่ที่การ พูดจาที่น่ารักสุภาพทำให้ใครต่อใครชื่นชอบรักสนุกและยังเป็นคนฉลาด มีไหวพริบดี อีกด้วย
คนเกิดวันพุธ มักจะมีความรักแบบที่เริ่มจากความเป็นเพื่อนก่อน แล้วค่อยผูกพันกัน มาเป็นความรักแท้ที่เต็มไปด้วยการเข้าอกเข้าใจกัน รู้จักกันดีมาก เคารพอิสระและเวลาส่วนตัวซึ่งกันและกัน คนเกิดวันนี้ ไม่ชอบดูแค่หน้าตาอย่างเดียวแต่ต้องเป็นคนที่พูดคุยกันรู้เรื่องและ มีทัศนคติเหมือนกัน ต้องเป็นได้ทั้งเพื่อนคู่คิดและคนรักในขณะเดียวกัน


วันพฤหัสบดี
คุณเป็นคนมีความโอบอ้อมอารีมีน้ำใจต่อผู้คน มีสติปัญญาดี เป็นที่ ยอมรับของคนอื่น เป็นคนรักใครก็รักจริง เกลียดจริง ไม่ชอบการเสแสร้ง หลอกลวง ดวงความรักค่อนข้างเรียบง่าย ไม่โลดโผนมากนัก เป็นคนน่ารัก เปิดเผย จริงใจ และมีความมุ่งมั่นสู่จุดหมาย ไม่เลื่อนลอย ไร้สาระ เป็นคนไม่เจ้าชู้ ถ้ารักใครก็จะซื่อสัตย์และรักเดียวต่อคนรัก ของตัวเองไม่คิดนอกใจไปมีใครอื่น
หากต้องผิดหวังในเรื่องความรัก ก็จะเป็นเพราะการมองโลกในแง่ดี จนเกินไป หรือคิดไปเองว่า ใครคนนั้นมีใจด้วย แต่เมื่อผิดหวังก็ไม่ปล่อย ตัวเองให้จมปลักกับความเจ็บปวด แต่จะพยายามทุ่มเทในเรื่อง ที่ตนสนใจ ให้ลืมความเจ็บปวดนั้น คนวันนี้ชอบคนที่เรียบง่ายมีนิสัย ความชอบคล้ายๆ กันไม่หรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินไป


วันศุกร์
คนเกิดวันนี้มีเรื่องราวของความรักๆ ใคร่ๆ มาวนเวียนประจำหัวใจ อยู่เสมอเป็นคนรักสวยรักงามชอบที่จะดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ เมื่อรักใครชอบใครแล้ว ก็จะเอาอกเอาใจเป็นอย่างดีเรียกว่าทุ่มจน สุดหัวใจเลยทีเดียว (เจ้าบุญทุ่ม ตัวจริง) แต่ก็ต้องการการตอบสนอง อย่างเดียวกันจากคนรักด้วย ไม่ฉะนั้นจะรู้สึกน้อยใจมาก
เสน่ห์ของคนวันศุกร์อยู่ที่ความอ่อนหวาน เป็นคนใจกว้าง และซื่อตรง บางครั้งออกจะขี้ระแวงคนรักจนเกินเหตุไปด้วยซ้ำดวงความรัก ของคนเกิดวันนี้ค่อนข้างอาภัพ (ฮือ ๆ) ทั้ง ๆ ที่มีคนมารักชอบอยู่เยอะ แต่ก็มักจะจบลงเพราะความไม่มีเหตุผลและเจ้าอารมณ์ของคุณ อยู่นั่นเองบางคนที่ถึงจะมีรักหวานแสนโรแมนติกเพียงใดแต่กลับ ต้องลาร้างกันทั้ง ๆ ที่ยังรักกันมากบางคนก็อาจจะมีความสัมพันธ์รัก ที่ยั่งยืนอบอุ่นแต่อาจไม่ใช่คนที่คุณเคยรักอย่างหัวปักหัวปำมาก่อน เป็นคนที่มีดวงความรักพิเศษไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

วันเสาร์
น่าอิจฉาที่สุด สำหรับคนเกิดวันเสาร์ เป็นคนโชคดีในด้านความรักไม่ค่อยจะมีปัญหาให้ต้องปวดใจ เหมือนคนเกิดวันอื่น ๆ เพราะว่า คนเกิดวันนี้เป็นคนที่เด็ดเดี่ยว หนักแน่น ใจคอมั่นคง เมื่อคบกับใคร ก็จะมีคนคนนั้นอยู่คนเดียวในหัวใจ ไม่ชายตาไปให้คนอื่นเลย เมื่อเลิกแล้วถึงจะเริ่มมีรักใหม่ คุณเป็นคนที่ดูสุขุม มีระเบียบ แต่ก็เป็น คนดื้อรั้นไม่เบาทีเดียว
มีความเจ้าชู้แบบเงียบๆ คือแค่มองและส่งยิ้มไปบ้าง ไม่มีอะไร ในกอไผ่เป็นประเภทขอแอบรัก แอบชื่นชม อยู่ไกล ๆ มากกว่า คนวันเสาร์เป็นคนที่ทระนง อดทน และมีความมุ่งมั่นใส่ใจคนรัก อย่างเสมอต้นเสมอปลาย (น่าอิจฉา คนมีแฟน เกิดวันเสาร์จัง) แต่ก็ ไม่ชอบให้แฟนมีนิสัยหรูหรา ฟู่ฟ่าจนเกินไปนัก เป็นคนช่างเลือก จึงไม่ค่อยคบใคร เล่นๆ เมื่อถูกใจใครจะใช้เวลาพิจารณานิสัยก่อน ที่จะเริ่มรักอย่างเต็มหัวใจแต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ในเรื่องของความรักจะต้องดู ถึงเรื่องความเหมาะสมในทุก ๆ ด้านด้วย เช่น อายุ ฐานะ การศึกษา




Saturday, December 15, 2007

โยเกิร์ต

โยเกิร์ต นมเปรี้ยวมหัศจรรย์

โยเกิร์ต นมเปรี้ยวที่คนไทยรู้จักในรูปแบบต่างๆ อาจจะไม่ใช่นมเปรี้ยวที่เรากำลังจะกล่าวถึงเพราะ โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่ดีจะต้องมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ จุดประสงค์ของการรับประทานนมเปรี้ยวที่ถูกต้องคือ การรับประทานแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตจำนวนมาก(ประมาณ หมื่นล้านต้วต่อกรัม)เพื่อหวังผลต่อสุขภาพ
ส่วนนมเปรี้ยวที่เราหาซื้อกันในท้องตลาดทำขึ้นโดยมีการปรุงแต่งรสชาติให้อร่อย บางชนิดไม่สมควรเรียกว่าโยเกิร์ตเสียด้วยซ้ำเพราะนำไปพาสเจอร์ไรซ์(ฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูง)และนำมาบรรจุกล่อง ที่จริงน่าจะเรียกว่าซากโยเกิร์ต บางชนิดก็มีการใส่น้ำตาลมากจนน่าสงสัยว่าท่านจะได้ประโยชน์ได้เต็มที่หรือไม่ บางชนิดก็มีการเจือจางจนปริมาณแบคทีเรียเหลืออยู่น้อยมาก
แบคทีเรียที่ดีในโยเกิร์ต ได้แก่ แลคโตบาซิลัส เอซิโดฟิลลัส( Lactobacillus acidophillus) แลคโตบาซิลัส บัลการิคัส ( Lactobacillus bulgaricus) และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส ( Streptococcus thermophillus)
โยเกิร์ตสามารถ ทำได้จากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติคทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว
ดังนั้นโยเกิร์ตที่ดีควรทำจากนมชนิดต่างๆและแบคทีเรียที่ดีเท่านั้น ไม่ควรมีส่วนผสมอย่างอื่นเข้าไปเจือปน ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล สี สารเจลาติน รสสังเคราะห์ ส่วนผสมเหล่านี้ล้วนทำให้คุณค่าของโยเกิร์ตด้อยลง แม้ว่าเราอาจจะไม่คุ้นเคยต่อรสโยเกิร์ตธรรมชาติ แต่ขอให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ท่านก็จะสามารถรับประทานโยเกิร์ตธรรมชาติด้วยความสบายใจและอร่อย
คุณประโยชน์จากโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตย่อยง่าย เพราะน้ำตาลแลคโตสเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการแพ้นมหรือท้องเสียถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติกที่ย่อยง่าย นอกจากนนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนนม เคซีน ซี่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาภูมิแพ้ต่อน้ำตาลแลคโตสและ โปรตีนเคซีน
2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยยับยั้งจุลชีพที่ไม่เป็นมิตรในลำไส้ กรดแลคติคจะช่วยต่อต้านจุลชีพที่อาจให้โทษต่อร่างกายเช่น เชื้อซัลโมเนลา (Salmonella typhidie) อี โคไล ( E. Coli) โคลินแบคทีเรีย( Corynebacteria diphtheriae) ทำให้เชื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ เราควรจะรับประทานโยเกิร์ตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีกลุ่มแบคทีเรียที่ดีอาศัยอยู่ภายในลำไส้
3. เป็นแหล่งวิตามิน บี โดยเฉพาะวิตามิน บี1(ไรโบฟลาวิน) แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังช่วยสังเคราะห์วิตามิน บีและวิตามิน เค ในลำไส้
4. ช่วยรักษาโรค ท้องเสีย ท้องเดิน และแผลในกระเพาะ จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กหายจากอาการท้องเสียเร็วขึ้น หลังจากได้รับประทานโยเกิร์ต
5. ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น กรดแลคติคในโยเกิร์ตช่วยทำให้การย่อยแคลเซียมในนมดีขึ้นและทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมง่ายขึ้น
6. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ตจะมีโปรตีนมากกว่าในนม 20% และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมไปใด้ด
7. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
8. ช่วยป้องกันมะเร็ง แลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง สามารถจับกับโลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมีพิษ แลคโตบาซิลัสช่วยยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารในเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) และแลคโตบาซิลัสยังช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็งได้

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการบันทึกปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533 พ.ศ.2538 และ พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรงและต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง
คณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่มีองค์การด้านวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แจ่มชัดว่า ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส
สภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดไ ด้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน
ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีการจัดตั้งโครงการพลังงานต่างๆ และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกและทำลายป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศน์ตามแนวชายฝั่ง และการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ได้ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี ดังนั้น แนวปะการังต่างๆ จึงได้รับผลกระทบและถูกทำลายเช่นกัน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่สำคัญมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และมีฤดูกาลที่ไม่แน่นอนที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม มีผู้คาดการณ์ว่า หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เมตรภายในทศวรรษหน้า หาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยจะลดน้อยลง สถานที่ตากอากาศชายทะเล รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา และ ระยองจะได้รับผลกระทบโดยตรง แม้แต่กรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนี้เช่นกัน
ปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นปัญหาร้ายแรงเรื่องหนึ่งที่เกิดจากจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้นส่งผลให้จำนวนยุงเพิ่มขึ้น นำไปสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเพราะอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบของโรค แต่การให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดียังมีไม่เพียงพอ
ปัจจุบันนี้สัญญาณเบื้องต้นของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ปรากฏขึ้นอย่างแจ่มชัด ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น หรือ มีความรู้ในวิธีแก้ไขมากขึ้น เพราะ ณ เวลานั้นก็อาจสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้

คุณธรรมนำความรู้

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในการมอบนโยบาย"การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ" ว่าปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในขั้นวิกฤต จึงต้องปฏิรูปการปกครองกันใหม่ โดยเฉพาะในด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องที่รัฐบาลเห็นว่ายังด้อยอยู่ ดังนั้น รัฐบาลจึงกำหนดเรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องหลักในการให้การศึกษาแก่เยาวชน เพราะหากไม่เร่งทำอะไรให้ดีขึ้น อาจถึงขั้นทำให้สังคมล่มสลาย

"นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลชุดนี้กำหนดไว้ชัดว่าคุณธรรมนำความรู้ แทนความรู้คู่คุณธรรม พร้อมเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี โดยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้คุณธรรมเป็นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับ 3 สถาบัน คือครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา หรือ "บวร" คือบ้าน วัด โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้กำหนดเป็นโครงการการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทในการศึกษาของไทย โดยมอบให้แต่ละหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพิจารณา และทบทวนสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่ามีอะไร และมีสิ่งใหม่ที่จะเสริมเติมเต็ม โดยดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่าย รวมทั้งอาจต้องฟื้นกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมค่าย การบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น ในระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นที่พึ่งให้กับการศึกษาในระดับอื่นๆ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์"
1.สป.ศธ. จัดโครงการสอดรับนโยบายคุณธรรมนำความรู้
2.สพฐ. กับนโยบายคุณธรรมนำความรู้
3.ข่าว รมว.ศธ. บรรยายพิเศษ"คุณธรรมนำความรู้สู่สังคมแห่งสันติ"
4.ข่าว รมว.ศธ. คุณธรรมนำความรู้
5. ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงศึกษาธิการกับหลักสูตรคุณธรรม
6.คุยกันเรื่อง คุณธรรมนำความรู้และเศรษฐกิจพอเพียง
7.คุณธรรมนำความรู้ เอาชนะ ความรู้คู่คุณธรรมได้แน่หรือ ข่าวการศึกษา คุณธรรมนำความรู้ขับเคลื่อนการศึกษาแก้วิกฤตชาติ
8.ข่าว คุณธรรมนำความรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง
9.เสวนา "คุณธรรมนำความรู้"

ยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความ
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำนโยบายและกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เสริมสร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ และเชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา
กลุ่มเป้าหมายแรกที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ คือ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถานศึกษา ประมาณ 15 ล้านคน ซึ่งถ้าทำได้ดีกับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาก็จะขยายผลไปสู่สังคมในวงกว้างผ่านตัวนักเรียน นักศึกษาด้วย นอกจากนี้ ยังมีประชาชนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านกระบวนการศึกษาของการศึกษาตามอัธยาศัย
แนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย จะใช้ระบบเครือข่ายโดยยึดโรงเรียนเป็นพื้นฐาน หน่วยสำคัญที่สุดที่จะก่อให้เกิดผล คือสถานศึกษา เครือข่ายระดับต้น คือสถานศึกษาต้องเชื่อมโยงกับ ครอบครัว วัด หรือสถาบันทางศาสนา รวมถึงในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะมีเครือข่ายเสริมสร้าง คุณธรรมในระบบการศึกษาผ่านคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
กลไกเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือการสร้างวัฒนธรรมสถานศึกษา หรือวัฒนธรรมองค์กรใหม่ โดยนำคุณธรรมสำคัญๆ เข้าไปเป็นวิถีชีวิตของคนในสถานศึกษา หรือองค์กรนั้น และต้องดำเนินการอย่างครบวงจร เช่น การยึดหลักของคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ และให้การศึกษาอบรม เพื่อให้ยึดเอาเรื่องเหล่านี้เป็นการประพฤติปฏิบัติตนในช่วงที่เด็ก และเยาวชนอยู่ในสถานศึกษา ครูและผู้บริหารก็ต้องปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย จากนั้นติดตามดูว่าผลที่เกิดเชิงพฤติกรรมเป็นอย่างไร
การศึกษา จะเป็นปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนา เรื่อง "คุณธรรม" ไม่ได้วัดกันที่มีความรู้คุณธรรมมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องวัดกันที่พฤติกรรมที่แสดงออกมา ที่เป็นส่วนหนึ่งของการยึดติดเป็นคุณค่าที่อยู่ในตัวตนของคนมากน้อยแค่ไหน และสิ่งนี้ไปกำกับให้มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่วิธีการ
การที่เด็กและเยาวชนได้ซึมซับ หรือเกิดความตระหนักในคุณธรรมนำความรู้ "สื่อมวลชน" จึงมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะเข้ามาร่วมกันพัฒนาการศึกษาและปลูกฝังคุณธรรม โดยการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับคุณงามความดีของบุคคลในด้านต่างๆ ของสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือแบบอย่างที่ดี "รายการคุณพระช่วย" จึงเป็นช่องทางหนึ่ง เพื่อสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมนำความรู้
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะเร่งดำเนินการร่วมกับทุกภาคส่วนของสังคมให้การขับเคลื่อนสังคมไทยได้เป็นสังคมของคำว่า "คุณธรรมนำความรู้" อันจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนของชาติเติบโตขึ้นมาบนฐานของคุณธรรมได้อย่างแท้จริง ประเทศชาติเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตลอดไป

เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า”
ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน
การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ
ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม
การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน

การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า
“…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”
การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ
ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่
“….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”
ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ
ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
“….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”
ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น
ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร
แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
" การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

ประวัติวันวาเลนไทน์ ความเป็นมาวันวาเลนไทน์

ประวัติความเป็นมาวันวาเลนไทน์มีผู้ได้กล่าวไว้เยอะมาก ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์

ประวัติวันวาเลนไทน์#
กำเนิดวันวาเลนไทน์ เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันหยุด เพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโน่ผู้เป็นจักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจากนี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอิสตรีเพศและการแต่งงาน และในวันถัดมา คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาลเฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม มีขนบธรรมเนียมอย่างหนึ่งของชายหนุ่มก็คือ การจับฉลาก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ชื่อของเด็กสาวจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษและใส่ลงในไห ชายหนุ่มแต่ละคนจะจับฉลากเพื่อเลือกคู่ในเทศกาลเฉลิมฉลองนี้ บ่อยครั้งที่หนุ่มสาวต่างถูกใจกัน และแต่งงานกันในเวลา

ในรัชสมัยของจักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 แห่งโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้าย และทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วมในกองทัพ เนื่องมาจาก ไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโองการสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง ขณะนั้นเอง พระรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ซึ่งอาศัยอยู่ในโทรม ได้ร่วมมือกับเซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้ท่านถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.270 ซึ่งตรงกับเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ตามประเพณีโบราณพอดี ณ โอกาสนี้เอง กลุ่มคนนอกศาสนาได้รื้อฟื้นประเพณีจับฉลากขึ้นมาใหม่ โดยชายหนุ่มจะเป็นผู้เขียนชื่อหญิงสาวลงไปด้วยตัวเอง ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรัก และดูเหมือนว่ายังคงเป็นธรรมเนียม ที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติวันวาเลนไทน์#2
วาเลนไทน์ (Valentine) คือวันที่ระลึกถึง นักบุญเซนต์วาเลนไทน์ (Saint Valentine) ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ความรัก และความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง แต่สุดท้ายเขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือเมื่อประมาณ 1,728 ปีล่วงเลยมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคสมัยของจักรวรรดิโรมันที่ศาสนาคริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ซํ้าร้ายภายใต้การปกครองของกษัตริย์ "คลอดิอุสที่ 2" ผู้ออกกฎหมายบีบบังคับให้ประชาชนเลิกนับถือ และห้ามให้มีแต่งงานของพวกคริสเตียนเกิดขึ้น แต่ยังคงมีผู้นำคริสเตียนคนหนึ่งชื่อ "วาเลนตินัส" หรือที่ได้รับการยกย่องเป็น เซนต์วาเลนไทน์ ในภายหลัง คอยลักลอบแอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจนถูกจับขังและรับโทษทรมานแสนสาหัสอยู่ในคุก
ในขณะที่ถูกคุมขังนั้น เขาก็พบรักกับสาวตาบอด ซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในคุก ด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของสาวคนรักหายเป็นปกติ เมื่อความนี้ล่วงรู้ถึงหูกษัตริย์คลอดิอุสที่ 2 พระองค์จึงสั่งให้ลงโทษ วาเลนตินัส ด้วยการโบยและนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น ได้เขียนจดหมายสั้น ๆ เป็นการอำลาส่งไปให้หญิงคนรักของเขา โดยลงท้ายในจดหมายว่า
"...จากวาเลนไทน์ของเธอ (Love From Your Valentine)"

ต่อมาเมื่อคนทั่วไปทราบเรื่องราวจึงเกิดความประทับใจในความรักของเขา ยึดถือเอาวันที่14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันแห่งความรัก" Saint Valentine's Day หรือ Valentine'sDay และได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรป อเมริกา รวมทั้งในทวีปเอเชียด้วย

ของขวัญวันวาเลนไทน์ ของขวัญที่นิยม ของขวัญแทนใจวันแห่งความรัก
ดอกไม้ ให้ความหมายของการบอกรักได้ดีที่สุด ที่ฮิตสุดเห็นจะเป็น
- กุหลาบแดง หมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ เป็นสิ่งนำโชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับ
- กุหลาบขาว หมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ ความเงียบสงบ และนำโชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับเช่นเดียวกับดอกกุหลาบแดง - กุหลาบสีชมพู หมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์ที่สุด
- กุหลาบสีเหลืองหรือสีส้ม หมายถึง ความรักร้อนแรงและยาวนาน ไม่จืดจาง หวานชื่น และมีความสุข
- กุหลาบตูม หมายถึง ความรักและความเยาว์วัย
- กุหลาบบาน หมายถึง ความรักที่กำลังเบ่งบาน ความอ่อนหวาน สดชื่น สําหรับคนที่อยากได้อะไรแตกต่างยังมีดอกอื่นๆ อาทิ
- ดอกคาร์เนชั่นสีแดง หมายถึง รักอย่างสุดซึ้ง,
- ดอกลิลลี่สีขาว หมายถึง ความโรแมนติก อ่อนหวานระหว่างคุณและคนรัก,
- ดอกทิวลิปสีแแดง หมายถึง ความรักที่จะร่วมฟันฝ่าไปด้วยกัน และ
- ดอกไวโอเล็ต ที่แทนความหมายของการให้รักตอบแทน
ช็อกโกแลต นักจิตวิทยาหลายคนเชื่อว่า ช็อกโกแลตเป็นตัวช่วยเสริมอารมณ์รัก และรสชาติความหวานก็เป็นสิ่งที่แทนความรู้สึกวันแห่งความรักได้อย่างดี และยังมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าในช็อกโกแลตมีสารช่วยกระตุ้นสมองโดยออกฤทธิ์คล้าย แอมเฟตามีน เป็นตัวเบิกทางความรู้สึกลึกๆแห่งรักได้ดี
การ์ด อันนี้เป็นของจําเป็นควบคู่ไปกับดอกไม้ และช็อกโกแลต เลือกตามแบบที่ชอบ เขียนความในใจตามแบบที่อยากให้คนที่ได้รับอ่านแล้วเข้าใจในทันที แถมหาซื้อไม่ยากด้วย
ตุ๊กตา เป็นสิ่งที่ให้กันได้ทุกเทศกาลอยู่แล้ว แต่พิเศษสําหรับวันแห่งความรักคงต้องเลือกสรรให้น่ารัก น่าประทับใจแทนความหมายได้ทุกอารมณ์แล้วแต่คุณจะหยิบแบบไหน
เทียนหอม มาแรงในหมู่หนุ่มสาวชาวไทย ที่สื่อได้ทั้งความหมายจากรูปทรงหัวใจ และให้กลิ่นหอมชวนหลงใหลตามแต่ใครจะเลือกได้ถูกใจอีกฝ่ายแค่ไหน
มื้อค่ำ ขาดไม่ได้เลยสำหรับมื้อพิเศษในวันแห่งความรัก ไม่ว่าจะเป็นสถานที่แบบไหน ในบ้าน ร้านอาหาร หรือริมทะเล แต่ขอให้มีแต่คุณและคนรักไปกันสองคนก็แล้วกัน

ตำนานดอกกุหลาบ

กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรด์จีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ

ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย
กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า
กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง เนืองนอง
หอมรื่นชื่นชมสอง สังวาส
นึกกระทงใส่พานทอง ก่ำเก้า
หยิบรอจมูกเจ้า บ่ายหน้าเบือนเสีย
สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา

กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน ?
มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

สีกุหลาบสื่อความหมาย
ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้
สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปราถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ
สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง
สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ
สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย

ช่อกุหลาบสื่อความหมาย
จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้

วัฒนธรรมไทย

ความรู้เรื่องวัฒนธรรม
พระยาอนุมานราชธน (๒๔๓๑ - ๒๕๑๒)
นักปราชญ์สำคัญของชาติ บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ให้ความหมาย เนื้อหา ประเภท ลักษณะความเจริญแห่งวัฒนธรรม ความเป็นไปแห่งวัฒนธรรม ระยะแห่งวัฒนธรรม สรุปได้ดังนี้ความหมาย..........พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒: ๔๕ - ๔๘) ได้ให้บทนิยาม
คำ "วัฒนธรรม"ว่า .......... วัฒนธรรม คือ "สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้ ..........คือผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา..........คือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ใน ส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา. ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น ..........คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
ประเภทของวัฒนธรรม
พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒ : น.๕๐ )ได้จำแนกประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น
๑. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขกายเพื่อให้ได้อยู่ดีกินดีมีความสะดวกสบายในการครองชีพ ได้แก่สิ่งความจำเป็นเบื้องต้นในชีวิต ๔ อย่างและสิ่งอื่นๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์เครื่องป้องกันตัว
๒. วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นสิ่งที่ทำให้ปัญญาและจิตใจมีความเจริญงอกงาม ได้แก่ การศึกษา วิชาความรู้อันบำรุงความคิดทางปัญญา ศาสนา จรรยา ศิลปะ และวรรณคดี กฎหมายและระเบียบประเพณี ซึ่งส่งเสริมความรู้สึกทางจิตใจให้งอกงามหรือสบายใจ
ลักษณะความเจริญแห่งวัฒนธรรม
พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒ : น.๕๓ ) ได้อธิบายลักษณะความเจริญงอกงามของวัฒนธรรมดังนี้คือ
๑. ต้องมีการสั่งสม และการสืบต่อ ตกทอดกันไปไม่ขาดตอนมีมรดกแห่งสังคมอันเกิดจากผลิตผลของสังคมที่สร้างสมไว้
๒. ต้องมีแปลกมีใหม่มาเพิ่มเติมของเดิมให้เข้ากันได้
๓. ต้องส่งเสริมเพื่อให้แพร่หลายไปในหมู่ของตนและตลอดไปถึงชนหมู่อื่นด้วย
๔. ต้องปรับปรุงและแก้ไขให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และสภาพของเหตุการณ์
ลักษณะความเป็นไปแห่งวัฒนธรรม ๓ ประการ
พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒ : น.๕๗ ) กล่าวถึงลักษณะความเป็นไปของวัฒนธรรม เมื่อเกิดการขยายอำนาจ หรือการรุกรานดังนี้คือ
๑. วัฒนธรรมของฝ่ายแพ้จะต้องสูญไป ถ้าฝ่ายแพ้ไม่มีวัฒนธรรมอันเป็นบุคลิกลักษณะของตนอยู่ในระดับสูง หรือเท่ากับฝ่ายชนะ เช่นให้เลิกศึกษาภาษาของตน แต่ให้มาศึกษาของฝ่ายชนะ หรือไม่ ฝ่ายชนะพยายามทำลายวัฒนธรรมของฝ่ายแพ้ให้หมดไปทันที
๒. ถ้าทั้งสองฝ่าย คือทั้งแพ้และชนะมีวัฒนธรรมอยู่ในระดับทัดเทียมกัน วัฒนธรรมของฝ่ายแพ้ก็จะต้านทานฝ่ายชนะไว้ได้ วัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายจะเข้าระคนปนกันทีละน้อยๆ เมื่อเป็นเวลานานจะเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่มีอำนาจดีกว่าเดิม เพราะได้กำลังทั้งสองฝ่ายมารวมกัน
๓. ถ้าฝ่ายแพ้มีวัฒนธรรมอยู่ในระดับสูงกว่าฝ่ายชนะ ก็จะสามารถดึงดูดเอาวัฒนธรรมของฝ่ายชนะเข้าประสานและอยู่ในครอบงำของฝ่ายแพ้ ถ้าฝ่ายชนะมีจำนวนคนน้อยกว่าฝ่ายแพ้ การพ่ายแพ้ในทางวัฒนธรรมของฝ่ายชนะจะเร็วขึ้น
..........ชาติใดไม่กระตือรือร้นในการบำรุงและส่งเสริมวัฒนธรรมของตนให้มีความเจริญงอกงาม และแพร่หลายได้ทันท่วงที ชาตินั้นอาจเป็นผู้ถูกชาติอื่นรุกรานในทางวัฒนธรรม ดังนั้นเพื่อไม่ให้ถูกรุกรานหรือรุกรานก็ต้านอยู่ ก็จะต้องรู้จักปรับปรุงวัฒนธรรมของตนให้เจริญ สิ่งแปลกใหม่ไม่ใช่ว่าจะเป็นของดีมีประโยชน์แก่ตนเสมอไป ถ้าสิ่งแปลกใหม่นั้นไม่เข้ากันได้ดีกับรากฐานแห่งวัฒนธรรมของตน
ระยะแห่งวัฒนธรรม
๑. สมัยนรปศุธรรม ( Stone Age Culture ) ได้แก่สมัยแรกเริ่มป่าเถื่อนตั้งแต่ยุคหิน จึงใช้คำว่า นร - ปศุธรรม ครึ่งคนครึ่งสัตว์
๒. สมัยอนารยธรรม (Barbarian Culture) ค่อยเจริญขึ้นแล้วแต่ยังป่าเถื่อนอยู่
๓. สมัยอารยธรรม (Civilization) มนุษย์มีความเจริญแล้ว อารยธรรมคือ วัฒนธรรมที่พ้นจากความป่าเถื่อนแล้วหรือพยายามให้พ้น และใช้คำว่า Culture ปนกันไปก็มีการที่วัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงไปได้นั้นมี ๔ ระยะ คือ
๑. เปลี่ยนไปเล็กน้อย
๒. เกิดจากค้นพบสิ่งใหม่ๆ ( discovery) หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้น (invention) สภาพภาวะเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมจึงเปลี่ยนไป
๓. มีคู่แข่งขึ้น เช่น เกวียนไปไม่ได้ รถไปได้
๔. การยืมวัฒนธรรมอื่นเขามา (Cultural borrowing)
เหตุแห่งความเจริญทางวัฒนธรรม
๑. การสะสม ต้องรับมรดกที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้
๒. การปรับปรุง ถ้าหมดสมัยแล้วก็ต้องเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ สิ่งที่เป็นมาในอดีต (ทั้งฝ่ายนามธรรมด้วย) ที่ใช้ได้ก็ปรับปรุงให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
๓. การถ่ายทอด ต้องสืบต่อให้คนรุ่นหลัง ต้องเผยแพร่สั่งสอนกัน การจะทำให้วัฒนธรรมเจริญยั่งยืนนั้นเราต้องรักษาวัฒนธรรมมรดกตกทอดและปรับปรุงอดีตให้เหมาะสมกับปัจจุบัน
คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์เอกสารเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปีพระยาอนุมานราชธน.รวมเรื่องเกี่ยวกับ..............วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๑. ๓๐๖ หน้า

ความหมายของวัฒนธรรม
..........มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่และมีแง่มุมต่างๆ ให้พิจารณาอย่างซับซ้อน เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วย มีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน(ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรม ไว้ ๔ นัย)ดังนี้คือ
๑. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
๒. วิถีชีวิตของหมู่คณะ
๓. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน
๔. พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประทานคำอธิบายไว้ว่า

..........วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญในทางวิชาความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปวิทยา วรรณคดี ศาสนา ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีและจรรยามารยาท..........วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคม มีทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อร่างสร้างความประพฤติปฎิบัติของประชาชาติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พระยาอนุมานราชธน
พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒: ๔๕ - ๔๘) ได้ให้บทนิยาม คำ "วัฒนธรรม"ว่า วัฒนธรรม
..........คือ" สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้
..........คือผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
..........คือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา. ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
..........คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา"
พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้อธิบายความหมายของวัฒนธรรมเมื่อคราวแสดงปาฐกถาพิเศษ ๑๐๐ ปี ของพระยาอนุมานราชธน เรื่อง " วัฒนธรรมกับการพัฒนา" ไว้เป็นหลายนัยอย่างน่าพิจารณา ดังนี้
วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้นๆ
วัฒนธรรม เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรมภูมิปัญญาทั้งหมดที่ได้ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ อยู่รอด และเจริญสืบต่อได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้
วัฒนธรรม คือผลรวมของทุกสิ่งซึ่งเป็นความเจริญงอกงามที่สังคมนั้นๆ ได้ทำไว้ หรือได้สั่งสมมาจนถึงบัดนี้
วัฒนธรรม เป็นทั้งสิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามสืบมา และเป็นเนื้อตัวของความเจริญงอดกงามที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของความเจริญงอกงามต่อไปตลอดจนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญงอกงามของสังคมนั้นๆ
พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตโต)
ในเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แสดงความหมายของวัฒนธรรมไว้ต่างกัน เช่น
..........วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและชาบชึ้งร่วมกันยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ
..........วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมมีทั้งสาระและรูปแบบที่เป็นระบบความคิด วิธีการ โครงสร้างของสังคม สถาบัน ตลอดจนแบบแผนและทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น

Monday, November 19, 2007

พ่อหลวงของเรา




พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สืบแทนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสู่สวรรคาลัยโดยกะทันหัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซทท์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช” ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์ มีพระนามเดิมและพระอิสริยยศต่อมาตามลำดับ ดังนี้
หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ให้ทรงมีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้ทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์เป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ทรงได้รับการสถาปนามีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงสงขลานครินทร์ ได้เสด็จทรงศึกษาวิชาการแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และทรงสำเร็จวิชา แพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ต่อจากนั้นทรงได้รับทุนการศึกษาของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปทรงเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมราชชนก ขณะดำรงพระยศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓
เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๑ พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทย ครั้งนั้นได้ประทับที่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า อีกหนึ่งปีต่อมา ในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ในปีเดียวกัน





เมื่อทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงรับพระราชภาระแห่งความเป็นแม่อย่างใหญ่หลวง เพราะต้องทรงอภิบาลพระโอรสธิดาองค์น้อยๆ โดยลำพังถึง ๓ พระองค์ และที่นับว่าเป็นพระราชภาระที่หนักยิ่งกว่าภาระของแม่ใดๆ ก็เพราะว่าพระโอรสธิดาที่ทรงอภิบาลรับผิดชอบนั้นต่อมาเป็นพระประมุขของประเทศถึง ๒ พระองค์ เพราะฉะนั้น การอภิบาลรักษาและการถวายการอบรมสั่งสอน จึงมีความยากและมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
พระราชจริยาวัตรในเชิงสร้างสรรค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงสอนพระโอรสธิดา ให้เรียนรู้เรื่องแผนที่และการใช้แผนที่ กล่าวคือ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ โรงเรียนเพาะช่างในสมัยนั้นจัดทำแผนที่ประเทศไทยโดยผลิตเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีกล่องไม้พร้อมฝาปิดเปิดสำหรับใส่เพื่อให้พระโอรสธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ทรงเล่นเป็นเกมส์สนุกคล้ายการต่อรูปต่างๆ เป็นการสอนให้รู้จักประเทศไทย และรู้จักการดูการใช้แผนที่ไปพร้อมๆ กัน จึงกล่าวได้ว่าพระราชดำริสร้างสรรค์เหล่านี้ ประกอบกับคุณธรรมอีกหลายประการได้มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อการที่ทรงอภิบาลและฝึกสอนพระโอรสธิดา ดังจะเห็นได้ว่าพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยาวัตรอันงดงามหลายประการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ส่งผล ไปถึงพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยาวัตรของพระโอรสธิดา อาทิ พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ ได้สืบทอดมายังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างครบถ้วน ดังจะเคยได้เห็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ใดจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์ คือ ทรงมีแผนที่ กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบด้วย เวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนบนแผนที่ เช่นเดียวกับพระบรมราชชนนีที่ทรงกระทำมาก่อน บางครั้งจะทรงพบว่า ณ จุดทรงงานนั้นเป็นสถานที่บนภูเขาแต่ตามระวางของกรมแผนที่ระบุไว้ว่าเป็นธารน้ำ จึงดูคล้ายกับน้ำไหลขึ้นสูง และได้พระราชทานข้อสังเกตนี้แก่กรมแผนที่ซึ่งกรมแผนที่ได้สำรวจใหม่จึงพบว่าเป็นเรื่องผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เอง กลายเป็นน้ำไหลกลับขึ้นที่สูง จากนั้นกรมแผนที่ได้เขียนเป็นเอกสารถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักแผนที่ผู้ชำนาญพระองค์หนึ่งด้วย
พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ พรรษา ได้เสด็จทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชไม่ทรงแข็งแรง จำเป็นต้องประทับในสถานที่ซึ่งอากาศดีและไม่ชื้น พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระปิตุลา ทรงแนะนำให้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอลเมียร์มองต์ (Ecole Mieremont) เมืองโลซานน์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลาซืออิส โรมองด์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ (Chailly-sur-Lausanne)
พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล (Gymnase Classique Cantonal) แห่งเมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ แล้วทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ โดยเสด็จ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช หลังจากเคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยชั่วคราวครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ครั้งหลังนี้ได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวังจนกระทั่งถึงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชในวันเดียวกัน
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษาต่อ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายนของปีนั้น รวมเวลาที่เสด็จประทับในประเทศไทยได้ ๖ เดือน ในการทรงศึกษาต่อครั้งนี้ ทรงเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่แต่เดิมก่อนเสด็จนิวัตประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้ซึ่งต่อมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคลและในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทย ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน
วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนต่อมา









พระราชกรณียกิจของในหลวง

พระราชกรณียกิจด้านฝนหลวง
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้มีพระราชดำริให้ทำฝนหลวงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทรงสนับสนุนงานด้านนี้มาตั้งแต่ต้น โดยทรงติดตามการปฏิบัติงานทดลองอย่างใกล้ชิดมาทุกระยะ เมื่อทรงทราบว่า คณะปฏิบัติการฝนหลวงประสบปัญหาบางประการ ก็มีพระกรุณาพระราชทานข้อคิดเห็น ที่จะขจัดปัญหา และอุปสรรคต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานคำแนะนำ ให้ไปทดลองที่หัวหิน เป็นประจำทุกเดือน เพื่อหาข้อมูล ในการทำฝนหลวงให้ได้ตลอดปี ทรงแนะนำฝึกฝนนักวิชาการให้ สามารถวางแผนปฏิบัติการอย่างเหมาะสม กับสภาพภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น บางทีพระองค์ก็ทรงทดลองและควบคุมบัญชาการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง ก่อนจะทำฝนหลวงแต่ละครั้งจะทรงเตือนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้า เพื่อป้องกันมิให้ก่อความเสียหาย แก่พืชผล และทรัพย์สินของราษฏร ทรงให้เร่งปฏิบัติการเมื่อสภาพอากาศอำนวยเพื่อจะได้ปริมาณน้ำฝนมากยิ่งขึ้น ทรงแนะนำให้ระวังสารเคมีบางอย่างซึ่งจะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฝนหลวงของพระองค์ มีเป็นอันมาก จะขอยกตัวอย่างให้ทราบดังนี้
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2512ทรงพระกรุณาเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ไปทอดพระเนตรการทดลองทำฝนหลวงของคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการครั้งที่ 5 พร้อมกับได้พระราชทานพระบรมราโชวาทให้คณะปฏิบัติการฯ พยายามอดทนต่อความยากลำบาก เพราะเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งในการ ช่วยให้ประชาชน คลายความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ ทรงแนะนำให้ศึกษาข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางภาคพื้นดินให้มากยิ่งขึ้น เช่น แผนภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ทางภาคพื้นดินในอาณาบริเวณนั้น การสร้างเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตอนใกล้พื้นดินให้สูงขึ้น พร้อมกับทรงสาธิตให้คณะเจ้าหน้าที่ดูวิธีการสร้างความชื้นสัมพัทธ์โดยโปรดเกล้าฯ ให้รถดับเพลิงของพระราชวังไกลกังวลมาพ่นละอองน้ำให้เป็นฝอยขึ้นในอากาศ แล้วเสด็จฯ เข้าไปในละอองน้ำที่ฉีด เพื่อนำเครื่องมือเข้าไปวัดความชื้นโดยไม่หวั่นว่าพระวรกายจะเปียกเปื้อนแต่ประการใด ปรากฏว่าสามารถสร้างความชื้นสัมพัทธ์ได้ตามที่ทรงรับสั่ง นอกจากนั้นยังทรงแนะนำว่าควร เพิ่มหน่วยสังเกตการณ์ภาคพื้นดินเพื่อจะได้ศึกษาปริมาณน้ำฝนตามจุดต่างๆ และได้ข้อมูลอื่นๆ ละเอียดยิ่งขึ้น
ในการเสด็จทอดพระเนตรครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาท ซึ่งคณะปฏิบัติการทดลองในครั้งนั้น น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จดจำไว้เปรียบเสมือนเป็นพระบรมราโชวาท และได้ปฏิบัติตามสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ พอสรุปได้ดังนี้
การวิจัยและค้นคว้าทดลองเป็นสิ่งสำคัญต้องดำเนินการต่อเนื่องไปไม่มีที่สิ้นสุด
อย่าสนใจต่อข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ก่อให้เกิดความท้อแท้ใจให้มุ่งมั่นพัฒนาต่อไป
ให้บันทึกรวบรวมไว้เป็นตำรา
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน เพื่อทอดพระเนตรการทดลองทำฝนหลวง พร้อมกับพระราชทานปีกเครื่องหมายฝนหลวงแก่คณะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และทรงประกอบพิธีเจิมเครื่องบินทำฝนหลวงลำใหม่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับงบประมาณให้จัดซื้อสำหรับใช้ทำฝนหลวงเป็นลำแรก เพื่อเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ต้องปฏิบัติงานเสี่ยงอันตราย ในโอกาสนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้คณะเจ้าหน้าที่จากประเทศออสเตรเลีย 3 นาย ซึ่งตามเสด็จไป ชมการทดลองทำฝนหลวงในครั้งนี้ได้เข้าเฝ้าฯ และทรงมีพระราชปฏิสันถารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำฝนหลวงกับผู้เข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิดโดยไม่ถือพระองค์ ทั้งนี้ทำให้ชาวต่างประเทศทั้ง 3 นาย ต่างรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมกับชมว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาชาญในเรื่องฝนหลวงอย่างยิ่ง
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2515 ทรงควบคุมบัญชาการทดลองทำฝนหลวงสาธิตให้คณะผู้แทนรัฐบาลสิงค์โปร์รวม 3 นาย ชมที่บริเวณอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ด้วยความมั่นพระทัยว่า จะสามารถทำให้ฝนตกในอ่างเก็บน้ำดังกล่าวได้ การที่ทรงเลือกอ่างเก็บน้ำดังกล่าวเป็นเป้าหมาย เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศสิงค์โปร์ เพื่อคณะผู้แทนสิงค์โปร์อาจนำวิธีการไปปฏิบัติได้ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจานนี้ นับเป็นเป้าหมายปฏิบัติการที่เล็กที่สุด ยากที่จะทำให้ฝนตกตรงเป้าหมายอันมีเนื้อที่จำกัดได้ การทดลองครั้งนี้ได้ใช้เครื่องบินของกองบินตำรวจร่วมกับเครื่องบินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และตั้งฐานปฏิบัติการที่ สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน โดยพระองค์ทรงควบคุมบัญชาการด้วยวิทยุของพระองค์เองจากแก่งกระจาน ด้วยพระปรีชาสามารถทำให้ฝนตกลงอ่างเก็บน้ำพอดี ภายในเวลาเพียง 5 ชั่วโมง เป็นที่ตื่นเต้นและประทับใจของผู้แทนสิงค์โปร์เป็นอย่างยิ่ง
ระหว่างวันที่ 15 - 29 พฤศจิกายน 2515 ทรงวางแผนปฏิบัติการและบัญชาการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เองจากพระตำหนักจิตรลดาฯ โดยทางวิทยุตำรวจ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ให้มากขึ้นในช่วงท้ายฤดูฝน ซึ่งไม่มีตัวการหรือดีเปรสชั่นที่จะทำให้เกิดฝนตก แต่สภาพภูมิอากาศที่เขื่อนภูมิพลขณะนั้นยังมีความชื้นสัมพัทธ์พอจะอำนวยให้ปฏิบัติการทำฝนหลวงได้ ปรากฏว่าในช่วงเวลาที่ทรงปฏิบัติการนั้น ตามสถิติของเขื่อนภูมิพลปริมาณน้ำในอ่างกำลังเริ่มลดระดับลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณฝนธรรมชาติเริ่มน้อยลงตามลำดับ การปฏิบัติการครั้งนี้ใช้เครื่องบินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งฐานปฏิบัติการที่สนามบินของเขื่อน ทำให้ฝนตกลงสู่ผิวน้ำและลุ่มรับน้ำของเขื่อนทุกวันคิดเป็นปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในอ่างถึง 620 ล้านลูกบาศก์เมตร และระดับน้ำสูงขึ้นจากเดิมถึง 150 เซนติเมตร แทนที่จะลดลงตามสถิติดังเช่นทุกปีมา ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นนี้เมื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วจะเป็นมูลค่าไม่น้อย
ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม ถึง 26 สิงหาคม 2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานฝนหลวงพิเศษ โดยทรงปฏิบัติการร่วมกับ คณะปฏิบัติการฝนหลวง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงระยะยาวใน 16 จังหวัด ราษฎรขาดแคลนน้ำสำหรับต้นกล้าข้าว ส่วนกล้าที่ตกไว้ก็ขาดน้ำหล่อเลี้ยง กำลังจะแห้งตายเป็นส่วนใหญ่ ชาวนาไม่สามารถไถเตรียมเทือก เพื่อปักดำกล้าข้าว ที่ได้อายุครบปักดำ นับเป็นพื้นที่แห้งแล้งกว้างใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยทำฝนหลวงมา จากรายงานของทั้ง 16 จังหวัดที่แห้งแล้งในภาคนี้ เป็นพื้นที่ถึง 17 ล้านไร่ การปฏิบัติการได้ใช้เครื่องบินบรรทุกขนาดใหญ่แบบ C123 ของกองทัพอากาศถึง 2 เครื่อง กับเครื่องบินปอร์ตเตอร์ ของกรมตำรวจอีก 2 เครื่อง สมทบกับเครื่องบินของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีก 8 เครื่อง ระดมกันปฏิบัติการช่วยเหลือเป็นเวลา 45 วันโดยตั้งฐานปฏิบัติการที่สนามบิน จังหวัดขอนแก่น ปฏิบัติการครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอำนวยการ และวางแผนปฏิบัติการประจำวัน เป็นส่วนใหญ่ ปรากฏว่า ก่อนลงมือปฏิบัติการชาวนาสามารถปักดำได้เพียงร้อยละ 5 ของเนื้อที่ปักดำทั้งหมดในภาคนี้ และหลังจากปฏิบัติการแล้วได้รับรายงานจากทุกจังหวัด ในเขตปฏิบัติการว่า ชาวนาสามารถตกกล้าข้าวได้เพิ่มขึ้น ทั้งช่วยกล้าข้าวที่เพาะไว้แล้วให้รอดพ้นจากความเสียหาย จนสามารถปักดำเป็นเนื้อที่เพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 55 และมีหลายจังหวัดที่สามารถปักดำได้เกือบเต็มพื้นที่นาทั้งหมด

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้
โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์ตอนหนึ่งว่า จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัยนับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสที่ว่า การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด[2] พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้
โรงเรียนจิตรลดา
โรงเรียนราชวินิต
โรงเรียนวังไกลกังวล
โรงเรียนราชประชาสมาสัย
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนเพื่อลูกหลานชนบท
โรงเรียนร่มเกล้า
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน
โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน
ทุนการศึกษาพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา หากแต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้
ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ทุนเล่าเรียนหลวง
ทุนมูลนิธิภูมิพล
ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย
ทุนนวฤกษ์
ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการหรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครูและที่เล่าเรียนเช่นขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี[3]
ปัจจุบันโครงการฯ ได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน ๗ สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขณะนี้มีออกมาแล้ว ๒๘ เล่ม โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์จะเสร็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญา

พระราชกรณียกิจเรื่องด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้
ประเทศเวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ - ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓
สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ - ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน - ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม - ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ - ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน - ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศเบลเยียม ระหว่างวันที่ - ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศลักเซมเบิร์ก ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม - ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ - ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
สหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๖ สิงหาคม - ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖
สาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ ๕ - ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ - ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
ประเทศอิหร่าน ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐
สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๖ มิถุนายน - ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ
จนกระทั่งวันที่ - ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศลาว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี
พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น รวมไปถึงการเสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทย และถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระอีกด้วย

พระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับพระพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งพิธีบรรพชาอุปสมบทนั้นได้มีบันทึกไว้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้...
พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบท ลุถึงวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 เป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย และจดจำในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จักได้ทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกทรงพระผนวชในบวรพระพุทธศาสนา โดยทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบทของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า อันจัดเป็นพระราชพิธีมหามงคลอันยิ่งใหญ่ เริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงพระดำเนินสู่ที่เปลื้องเครื่องหลังพระอุโบสถ เสร็จแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงจรดพระกรรบิดเปลื้องพระเกศาเป็นพระฤกษ์ (ใช้กรรไกรขริบเส้นผมเป็นปฐมฤกษ์) จากนั้นเจ้าพนักงานภูษามาลาถวายต่อจนเสร็จ
ครั้นเวลา 15.00 น. ล่วงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเศวตพัสตร์ตามแบบผู้แสวงอุปสมบท ทรงพระดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถทางพระทวารหลังแล้วเสด็จออกหน้าพระฉาก ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว ทรงรับผ้าไตรและบาตรสำหรับทรงอุปสมบท จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปประทับในท่ามลางสังฆสมาคมในพระอุโบสถ มีพระสงฆ์ผู้จะนั่งหัตถบาส จำนวน 30 รูป อยู่ด้านเหนือ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ (อุปัชฌาย์) และถวายศีล สมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์ ภายในพระอุโบสถทางด้านใต้ มีพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมมนตรี คณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นอกจากนั้น เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ที่ชานพระอุโบสถทั้งหน้าหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องราชสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ แล้วทรงขอบรรพชา สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ทรงถวายโอวาทสำหรับบรรพชาความว่า "บัดนี้ สมเด็จพระบรมบพิตรทรงมีพระราชศรัทธาความเชื่อ พระราชปสาทะความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขอบรรพชาอุปสมบท รวมความว่า บวชในพระพุทธศาสนาตามพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นบรมราชจักรีวงศ์และตามแบบของกษัตริย์ก่อนๆ เพราะฉะนั้น จึงควรน้อมพระราชหฤทัยระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมศาสดา ประกาศพระศาสนา และทรงระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประกาศสัจจะความจริงอันไม่แปรปรวน และระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้ความเชื่อความเลื่อมใส ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนได้ดบรรลุถึงคุณพิเศษในพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ จงตั้งพระราชหฤทัยระลึกถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่าศาสนธรรมอันประกาศสัจธรรม ธรรมะที่เป็นจริง และระลึกถึงพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า เช่นนี้ จึงควรบวชในพระพุทธศาสนา